เพลงไหมแท้ที่แม่ทอ
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วิเคราะห์วรรณกรรมเพลง
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง หลักทั่วไปของการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์
องค์ประกอบที่สำคัญของงานประพันธ์ คือ เนื้อหาและรูปแบบ งานประพันธ์เรื่องใดมีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา ก่อให้เกิดความกลมกลืนอย่างมีศิลปะ งานประพันเรื่องนั้นจัดถึงขั้นวรรณคดีได้ แต่บางเรื่องที่ยังไม่ถึงขั้นวรรณคดีเรียนว่า วรรณกรรม เป็นคำเรียกกลาง ๆ
เนื้อหาของงานประพันธ์ หมายถึงใจความสำคัญเพียงใจความเดียว หรือหลายๆใจความต่อเนื่องกัน อันประกอบกันขึ้นมาเป็นเนื้อหา ในเนื้อหานั้นจะมีใจความสำคัญ เรียกว่า สาระสำคัญที่สุด และสารที่สำคัญรองๆ ลงไปที่ผู้ประพันธ์เจตนจะสื่อไปยังผู้อ่านอีกด้วย
คุณค่างานประพันธ์
1.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือคุณค่าทางด้านการแต่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ควรเลือกใช้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีในการแต่งที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่ใช้ไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจและให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์
2.คุณค่าด้านสังคม งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคม มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคมและในส่วนจรรโลงใจหรือพัฒนาสังคม
แนวคิดหมายถึง
1.ความคิดสำคัญ ซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
2.ความคิดอื่นๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง
ค่านิยมหมายถึง
1.ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมีความหมายหรือความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของตน
2.ความเชื่อมั่น และการยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
3.คุณค่าด้านเนื้อหา วรรณคดีแต่ละเรื่องจะมีคุณค่าด้านเนื้อหาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณคดี ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทสารคดีก็จะเน้นเนื้อหาสาระให้ความรู้ความคิดในด้านวิชาการ ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีก็จะเน้นบันเทิงเป็นหลัก
ใบความรู้ที่ 2
เรื่องการใช้โวหารภาพพจน์
การใช้โวหาร คือการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึก และอารมณ์ การใช้โวหารดังกล่าวมีอยู่หลายลักษณะ เรียกว่าภาษาภาพพจน์ ได้แก่
1.อุปมา( Simile )
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราว กับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปานประหนึ่งเพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
ปัญญาประดุจดังอาวุธ
ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ เก่งนา
สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
2.อุปลักษณ์ ( Metaphor )
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับ อุปมาโวหาร คือ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น
ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
ทหารเป็นรั้วของชาติ
เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
3.ปฏิพากย์ ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สนุกฉิบหาย
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
4.อติพจน์(Hyperbole)
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
คิดถึงใจจะขาด
คอแห้งเป็นผง
ร้อนตับจะแตก
หนาวกระดูกจะหลุด
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์" ตัวอย่างเช่น
เล็กเท่าขี้ตาแมว
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
รอสักอึดใจเดียว
5.บุคลาธิษฐาน (Personification)
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์
(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
ตัวอย่างเช่น
มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา เชิดหน้าได้ดิบได้ดี
เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง
6.สัญลักษณ์ (symbol)
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานาน จนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น
เมฆหมอก แทน อุปสรรค
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์
กุหลาบแดง แทน ความรัก
หงส์ แทน คนชั้นสูง
กา แทน คนต่ำต้อย
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
แสงสว่าง แทน สติปัญญา
เพชร แทน ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ
แก้ว แทน ความดีงาม ของมีค่า
ลา แทน คนโง่ คนน่าสงสาร
ลา แทน คนพาล คนคด
สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์
7.นามนัย (Metonymy)
นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้าย ๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ
ฉัตร หมายถึง กษัตริย์
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความ
8.สัทพจน์ (Onematoboeia)
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯการใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น
ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนกร้อง จิ๊บ ๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด
ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น
9.ธรรมาธิษฐาน หมายถึงการยกบุคคลขึ้นเป็นหลักในการอธิบาย เช่น ยกเรื่องพญามารขึ้นมาเพื่อ
อธิบายเรื่องของกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ให้เข้าใจง่ายขึ้น ใช้ในพระพุทธศาสนา
10.อุปมานิทัศน์ คือการใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ผู้ฟัง เช่น
เรื่องนี้ก็เข้าทำนองหมาป่ากับลูกแกะนั่นแหละ
ไม่รู้บุญคุณคน อกตัญญูเหมือนเรื่องชาวนากับงูเห่า
11.ไวพจน์ คือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น
- ดอกไม้ = มาลี ผกา บุปผาชาติ บุหงา
- นก = วิหก ทิชาชาติ โนรี สกุณา
- งาม = โสภา เสาวภา เสาวลักษณ์ วิลาศ
ใบความรู้ที่ 3
เรื่อง ความงามกับภาษา
ความงาม คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนได้เห็น ได้ยิน และได้สัมผัส เกิดความชื่นชม ยินดี เบิกบาน ติดตรึงใจอยู่เป็นนิจ กล่าวเฉพาะภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 ข้อ คือ
1.การเลือกสรรคำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก อารมณ์ ได้อย่างงดงามตรงตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีอยู่จริง เรียกว่า การสรรคำ
2. การจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วนั้นต่อเนื่องเป็นลำดับ ร้อยเรียงกันอย่างไพเราะ เหมาะสม ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษา และได้จังหวะ ในกรณีที่เป็นบทร้อยกรองจะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ด้วย เรียกว่า การเรียบเรียงคำ
3. การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่เป็นอยู่ปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ตรงกับภาษาที่ใช้อย่างตรงไปตรงมา เรียกว่า การใช้โวหารการสรรคำ ผู้ส่งสารจะต้องสรรคำให้ตรงตามที่ต้องการ เหมาะแก่บริบท เนื้อเรื่อง และฐานะของบุคคลในเรื่องโวหารและรูปแบบคำประพันธ์
นอกจากนี้ยังต้องสรรคำโดยคำนึงถึงความงามด้านเสียงด้วยดังนี้
1. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น “วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้วบดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ตัวอย่างเช่น “ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง” (นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่)
ผู้ประพันธ์เลือกสรรคำใช้ได้เหมาะสมแก่เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนดของคนเมืองเพชร ทำให้ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นนึกภาพได้อย่างชัดเจน
3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง แต่คำบางคำ ใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น “เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล (กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
4. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ “คำไวพจน์” หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น
“มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายถึงดอกไม้ ใช้เฉพาะในคำประพันธ์เท่านั้น
5. เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง 5.1 คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น “กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์ “เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง (นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่)
เป็นคำเลียนเสียงสัตว์ประเภทลิง ค่าง บ่าง ชะนี หน้า ๓
5.2 คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น “ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
5.3 คำที่เล่นเสียงสัมผัส คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจาให้คล้องจองกันดังจะเห็นได้จากสำนวน พังเพย สุภาษิต ชื่อเฉพาะ คำขวัญ ที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน เช่น
สำนวน พังเพย สุภาษิต - กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก - ข้าวยากหมากแพง - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา - จับดำถลำแดง - เจ้าชู้ไก่แจ้ - ผัวเมียผิดกันอย่าพ้อง พี่น้องผิดกันอย่าพลอย - หูป่าตาเถื่อน - เป็ดขันประชันไก่ - เยิ่นเย้อกฐินบก - ยื่นหมูยื่นแมว - ออกเรือหาถ่อ ตั้งหม้อหาฟืน - เหล้าข้าวกินด้วยกัน นกกระทาไม่ให้ใคร
ชื่อเฉพาะ - มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์กร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ (ชื่อแบบเรียน 6 เล่ม ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)) - เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
คำขวัญ - ช่วยชีวิตท่านได้ หากใช้หมวกกันน็อก
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
- เมตตาเป็นทุน เกื้อหนุนชุมชน
- มั่นคงด้วยรากฐาน บริการด้วยน้ำใจ
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
5.4 คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี
(อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
วสันตดิลกฉันท์ ๑
ถือสรรพอาวุธฉคึก มนะนึกคะนึงคุณ
สมเด็จพระจอมพรอดุล อติเทพกษัตริย์ไทย
ออกสัประยุทธ์คณะริปู จรจู่ผจญภัย
หนุนเนื่องระดมพลคระไล บมิยั่นแสยงหยอน
(คำประพันธ์บางเรื่อง ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร)
“ทันใดนั้นเอง หล่อนก็หยุดเมื่อถึงฝั่งลำธาร บรรดาเงาต่างก็พลอยหยุดไปด้วย นอกจากเงาเดียวซึ่งทาบอยู่หลังเสาไฟในระหว่างหล่อนกับข้าพเจ้า เงานั้นคงเคลื่อนต่อไป ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนลูกมะพร้าวที่ลอยอยู่กลางกระแสน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มุ่งเข้าหาเหยื่อ ใกล้เข้าไปเข้าไปเป็นลำดับ ข้าพเจ้าได้แต่จับตาดูอย่างแทบกลั้นหายใจราวกับถูกมนต์สะกดขยับเขยื้อนเคลื่อนอิริยาบถไม่ได้ชั่วขณะหนึ่ง” (ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์) ผู้อ่านเป็นจะรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาที่คำบางคำ ข้อความที่มีลักษณะเป็นพรรณนาโวหารเช่นนี้ ถ้าผู้อ่านใช้ศิลปะของการอ่านช่วยก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ ดังที่นักแสดงวิทยุอ่านนิทาน นิยาย ทางวิทยุกระจายเสียง
6.เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
(ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกชู้
ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
1. แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1-3
ใบความรู้ที่ 1 เรื่องหลักทั่วไปในการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์ ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความงามของภาษา ใบความรู้ที่ 3 เรื่องโวหารภาพพจน์
ตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิลป์จากบทเพลง
เพลงพิษณุโลกพาฝัน
เพลง พิษณุโลกรำลึก
เพลงพิษณุโลก
เพลงเก็บตะวัน
เพลงตะวันชิงพลบ
เพลงบัวแล้งน้ำ
เพลงคือหัตถาครองพิภพ
เพลงอิ่มอุ่น
เพลงผู้หญิงของแผ่นดิน
เพลงของขวัญจากก้อนดิน
เพลงไผ่รวมกอ
เพลงกุหลาบแดง
เพลงทะเลใจ
เพลงพรหมลิขิต
เพลงหยาดเพชร
เพลงถ้าฉันไม่อยู่แล้วใครจะดูแลเธอ
เพลงฉันรักเธอเท่าฟ้า
เพลงหนึ่งในร้อย
เพลงแสงหนึ่งคือรุ้งงาม
เพลงเธอเป็นแฟนฉันแล้ว
เพลงเธอที่รัก
เรื่อง หลักทั่วไปของการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์
องค์ประกอบที่สำคัญของงานประพันธ์ คือ เนื้อหาและรูปแบบ งานประพันธ์เรื่องใดมีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา ก่อให้เกิดความกลมกลืนอย่างมีศิลปะ งานประพันเรื่องนั้นจัดถึงขั้นวรรณคดีได้ แต่บางเรื่องที่ยังไม่ถึงขั้นวรรณคดีเรียนว่า วรรณกรรม เป็นคำเรียกกลาง ๆ
เนื้อหาของงานประพันธ์ หมายถึงใจความสำคัญเพียงใจความเดียว หรือหลายๆใจความต่อเนื่องกัน อันประกอบกันขึ้นมาเป็นเนื้อหา ในเนื้อหานั้นจะมีใจความสำคัญ เรียกว่า สาระสำคัญที่สุด และสารที่สำคัญรองๆ ลงไปที่ผู้ประพันธ์เจตนจะสื่อไปยังผู้อ่านอีกด้วย
คุณค่างานประพันธ์
1.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือคุณค่าทางด้านการแต่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ควรเลือกใช้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีในการแต่งที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่ใช้ไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจและให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์
2.คุณค่าด้านสังคม งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคม มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคมและในส่วนจรรโลงใจหรือพัฒนาสังคม
แนวคิดหมายถึง
1.ความคิดสำคัญ ซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
2.ความคิดอื่นๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง
ค่านิยมหมายถึง
1.ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมีความหมายหรือความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของตน
2.ความเชื่อมั่น และการยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
3.คุณค่าด้านเนื้อหา วรรณคดีแต่ละเรื่องจะมีคุณค่าด้านเนื้อหาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณคดี ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทสารคดีก็จะเน้นเนื้อหาสาระให้ความรู้ความคิดในด้านวิชาการ ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีก็จะเน้นบันเทิงเป็นหลัก
ใบความรู้ที่ 2
เรื่องการใช้โวหารภาพพจน์
การใช้โวหาร คือการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึก และอารมณ์ การใช้โวหารดังกล่าวมีอยู่หลายลักษณะ เรียกว่าภาษาภาพพจน์ ได้แก่
1.อุปมา( Simile )
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราว กับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปานประหนึ่งเพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
ปัญญาประดุจดังอาวุธ
ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ เก่งนา
สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
2.อุปลักษณ์ ( Metaphor )
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับ อุปมาโวหาร คือ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น
ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
ทหารเป็นรั้วของชาติ
เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
3.ปฏิพากย์ ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สนุกฉิบหาย
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
4.อติพจน์(Hyperbole)
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
คิดถึงใจจะขาด
คอแห้งเป็นผง
ร้อนตับจะแตก
หนาวกระดูกจะหลุด
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์" ตัวอย่างเช่น
เล็กเท่าขี้ตาแมว
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
รอสักอึดใจเดียว
5.บุคลาธิษฐาน (Personification)
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์
(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
ตัวอย่างเช่น
มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา เชิดหน้าได้ดิบได้ดี
เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง
6.สัญลักษณ์ (symbol)
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานาน จนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น
เมฆหมอก แทน อุปสรรค
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์
กุหลาบแดง แทน ความรัก
หงส์ แทน คนชั้นสูง
กา แทน คนต่ำต้อย
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
แสงสว่าง แทน สติปัญญา
เพชร แทน ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ
แก้ว แทน ความดีงาม ของมีค่า
ลา แทน คนโง่ คนน่าสงสาร
ลา แทน คนพาล คนคด
สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์
7.นามนัย (Metonymy)
นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้าย ๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ
ฉัตร หมายถึง กษัตริย์
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความ
8.สัทพจน์ (Onematoboeia)
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯการใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น
ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนกร้อง จิ๊บ ๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด
ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น
9.ธรรมาธิษฐาน หมายถึงการยกบุคคลขึ้นเป็นหลักในการอธิบาย เช่น ยกเรื่องพญามารขึ้นมาเพื่อ
อธิบายเรื่องของกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ให้เข้าใจง่ายขึ้น ใช้ในพระพุทธศาสนา
10.อุปมานิทัศน์ คือการใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ผู้ฟัง เช่น
เรื่องนี้ก็เข้าทำนองหมาป่ากับลูกแกะนั่นแหละ
ไม่รู้บุญคุณคน อกตัญญูเหมือนเรื่องชาวนากับงูเห่า
11.ไวพจน์ คือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น
- ดอกไม้ = มาลี ผกา บุปผาชาติ บุหงา
- นก = วิหก ทิชาชาติ โนรี สกุณา
- งาม = โสภา เสาวภา เสาวลักษณ์ วิลาศ
ใบความรู้ที่ 3
เรื่อง ความงามกับภาษา
ความงาม คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนได้เห็น ได้ยิน และได้สัมผัส เกิดความชื่นชม ยินดี เบิกบาน ติดตรึงใจอยู่เป็นนิจ กล่าวเฉพาะภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 ข้อ คือ
1.การเลือกสรรคำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก อารมณ์ ได้อย่างงดงามตรงตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีอยู่จริง เรียกว่า การสรรคำ
2. การจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วนั้นต่อเนื่องเป็นลำดับ ร้อยเรียงกันอย่างไพเราะ เหมาะสม ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษา และได้จังหวะ ในกรณีที่เป็นบทร้อยกรองจะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ด้วย เรียกว่า การเรียบเรียงคำ
3. การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่เป็นอยู่ปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ตรงกับภาษาที่ใช้อย่างตรงไปตรงมา เรียกว่า การใช้โวหารการสรรคำ ผู้ส่งสารจะต้องสรรคำให้ตรงตามที่ต้องการ เหมาะแก่บริบท เนื้อเรื่อง และฐานะของบุคคลในเรื่องโวหารและรูปแบบคำประพันธ์
นอกจากนี้ยังต้องสรรคำโดยคำนึงถึงความงามด้านเสียงด้วยดังนี้
1. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น “วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้วบดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ตัวอย่างเช่น “ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง” (นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่)
ผู้ประพันธ์เลือกสรรคำใช้ได้เหมาะสมแก่เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนดของคนเมืองเพชร ทำให้ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นนึกภาพได้อย่างชัดเจน
3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง แต่คำบางคำ ใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น “เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล (กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
4. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ “คำไวพจน์” หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น
“มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายถึงดอกไม้ ใช้เฉพาะในคำประพันธ์เท่านั้น
5. เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง 5.1 คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น “กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์ “เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง (นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่)
เป็นคำเลียนเสียงสัตว์ประเภทลิง ค่าง บ่าง ชะนี หน้า ๓
5.2 คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น “ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
5.3 คำที่เล่นเสียงสัมผัส คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจาให้คล้องจองกันดังจะเห็นได้จากสำนวน พังเพย สุภาษิต ชื่อเฉพาะ คำขวัญ ที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน เช่น
สำนวน พังเพย สุภาษิต - กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก - ข้าวยากหมากแพง - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา - จับดำถลำแดง - เจ้าชู้ไก่แจ้ - ผัวเมียผิดกันอย่าพ้อง พี่น้องผิดกันอย่าพลอย - หูป่าตาเถื่อน - เป็ดขันประชันไก่ - เยิ่นเย้อกฐินบก - ยื่นหมูยื่นแมว - ออกเรือหาถ่อ ตั้งหม้อหาฟืน - เหล้าข้าวกินด้วยกัน นกกระทาไม่ให้ใคร
ชื่อเฉพาะ - มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์กร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ (ชื่อแบบเรียน 6 เล่ม ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)) - เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
คำขวัญ - ช่วยชีวิตท่านได้ หากใช้หมวกกันน็อก
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
- เมตตาเป็นทุน เกื้อหนุนชุมชน
- มั่นคงด้วยรากฐาน บริการด้วยน้ำใจ
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
5.4 คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี
(อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
วสันตดิลกฉันท์ ๑
ถือสรรพอาวุธฉคึก มนะนึกคะนึงคุณ
สมเด็จพระจอมพรอดุล อติเทพกษัตริย์ไทย
ออกสัประยุทธ์คณะริปู จรจู่ผจญภัย
หนุนเนื่องระดมพลคระไล บมิยั่นแสยงหยอน
(คำประพันธ์บางเรื่อง ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร)
“ทันใดนั้นเอง หล่อนก็หยุดเมื่อถึงฝั่งลำธาร บรรดาเงาต่างก็พลอยหยุดไปด้วย นอกจากเงาเดียวซึ่งทาบอยู่หลังเสาไฟในระหว่างหล่อนกับข้าพเจ้า เงานั้นคงเคลื่อนต่อไป ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนลูกมะพร้าวที่ลอยอยู่กลางกระแสน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มุ่งเข้าหาเหยื่อ ใกล้เข้าไปเข้าไปเป็นลำดับ ข้าพเจ้าได้แต่จับตาดูอย่างแทบกลั้นหายใจราวกับถูกมนต์สะกดขยับเขยื้อนเคลื่อนอิริยาบถไม่ได้ชั่วขณะหนึ่ง” (ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์) ผู้อ่านเป็นจะรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาที่คำบางคำ ข้อความที่มีลักษณะเป็นพรรณนาโวหารเช่นนี้ ถ้าผู้อ่านใช้ศิลปะของการอ่านช่วยก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ ดังที่นักแสดงวิทยุอ่านนิทาน นิยาย ทางวิทยุกระจายเสียง
6.เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
(ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกชู้
ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
ใบงาน
งานกลุ่ม ๆ ละ 3 คน
งานกลุ่ม ๆ ละ 3 คน
เรื่องวิเคราะห์บทเพลง
ขั้นตอนการปฏิบัติ1. แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1-3
ใบความรู้ที่ 1 เรื่องหลักทั่วไปในการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์ ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความงามของภาษา ใบความรู้ที่ 3 เรื่องโวหารภาพพจน์
2. แต่ละกลุ่มศึกษาและวิเคราะห์บทเพลงกลุ่มละ 1 เพลง (จับฉลากเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน)โดยสรุปองค์ความรู้เป็นแผนที่ความคิด และวิเคราะห์ลงในแบบตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิป์จากเพลง
3.การวิเคราะห์ต้องมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 จุดประสงค์ของเพลง
3.2 เนื้อความของบทเพลง
3.3 คุณค่าทางจิตใจ/อารมณ์/สังคม
3.4 คุณค่าทางภาษาไทยหรือความงามทางภาษา(การสรรคำ/กลวิธีการเรียบเรียงคำ/การใช้โวหาร)
4. ส่งตัวแทนนำเสนอผลงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่างๆ เช่น Power Point หรือ e-book หรือ นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) หรือ Movie Maker
5. ระหว่างที่สมาชิกปฏิบัติกิจกรรมจะถูกประเมินผลตามแบบประเมินโดยเพื่อนกลุ่มอื่น
6. กำหนดการส่งงานหลังจากนี้ 1 สัปดาห์
7. การส่งงาน
7.1 รายงาน 1 ฉบับ
7.2 แผ่น C.D. นำเสนอ 1 แผ่น ในแผ่นประกอบ ด้วย แผนที่ความคิด, รายงาน, เพลง ,เนื้อเพลง, Power Point หรือ e-book หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) หรือ Movie Maker
ตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิลป์จากบทเพลง
ชื่อ...................................................................................................ชั้น......................................................
วิชา......................................................................โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ที่ | เพลง | ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง | การสรรคำ | การเรียบเรียงคำ | โวหาร | ||||||||||||||
ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย | ใช้คำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล | ใช้คำให้เหมาะแก่ลักษณะของคำประพันธ์ | เลือกคำโดยคำนึงถึงเสียง | สาระสำคัญอยู่ท้ายสุด | ความสำคัญเท่ากัน | เนื้อหาเข้มข้นจนขั้นสุดท้าย | เข้มข้นขึ้นไป แต่คลายลงในช่วงหรือประโยคสุดท้าย | ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ | อุปมา | อุปลักษณ์ | บุคคลวัต/บุคคลสมมติ | อติพจน์ | อวพจน์ | นามนัย | สัญลักษณ์ | อุปมานิทัศน์ | |||
เพลงพิษณุโลกพาฝัน
เพลง พิษณุโลกรำลึก
เพลงพิษณุโลก
เพลงเก็บตะวัน
เพลงตะวันชิงพลบ
เพลงบัวแล้งน้ำ
เพลงคือหัตถาครองพิภพ
เพลงอิ่มอุ่น
เพลงผู้หญิงของแผ่นดิน
เพลงของขวัญจากก้อนดิน
เพลงไผ่รวมกอ
เพลงกุหลาบแดง
เพลงทะเลใจ
เพลงพรหมลิขิต
เพลงหยาดเพชร
เพลงถ้าฉันไม่อยู่แล้วใครจะดูแลเธอ
เพลงฉันรักเธอเท่าฟ้า
เพลงหนึ่งในร้อย
เพลงแสงหนึ่งคือรุ้งงาม
เพลงเธอเป็นแฟนฉันแล้ว
เพลงเธอที่รัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)