ธรรมชาติของภาษา
1.ภาษาใช้สื่อความหมาย
-ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การแสดงออกทั่วไปเพื่อสื่อความหมาย เช่น ท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษาสัตว์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เครื่องหมาย สัญญาณต่างๆ(เสียงระฆัง เสียงหวอ สัญญาณไฟจราจร)
-ภาษาในความหมายอย่างแคบ หมายถึง ภาษาพูดของคนโดยใช้เสียงเป็นสื่อ
-เสียงที่ใช้แต่ละภาษามีจำนวนจำกัด
-แต่ละภาษาไม่จำเป็นต้องใช้คำๆเดียวกัน เมื่อพูดถึงสิ่งเดียวกัน เช่น เดิน-walk
-คำที่เสียงกับความหมาย"สัมพันธ์กัน" จะมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะมีแต่คำที่เสียงกับความหมาย"ไม่สัมพันธ์กัน" เช่น
1)คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น โครม หวูด ออด กริ่ง ตุ๊กตุ๊ก ตุ๊กแก ฉู่ฉี่ ก๊อบแก๊บ โหม่ง ทุ่ม โมง เพล้ง ปัง กริ๊ก คิกๆ(หัวเราะ)
2)คำที่เสียง"พยัญชนะ"สัมพันธ์กับความหมาย เช่น ค : ขุ่น เคือง แค้น เคียด ขึ้ง ขัด(โกรธ ไม่พอใจ)
3.คำที่เสียง"สระ"สัมพันธ์กับความหมาย เช่น
-เอ : เก เข เป๋ เฉ เซ เห (ไม่ตรง)
-เออ : เป๋อ เอ๋อ เหรอ เหวอ เซ่อ เด๋อ เหม่อ เผลอ (ไม่มีสติ งงๆ)
-อาบ : ราบ นาบ ทาบ ฉาบ (ทำให้แบนแผ่)
2.หน่วยในภาษาและการขยายหน่วยภาษา
-หน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบชองภาษา คือ เสียง คำ วลี ประโยค ข้อความ
-มนุษย์สามารถสร้างประโยคได้ไม่จำกัดจากเสียงในภาษาซึ่งมีจำกัด
-เรียงหน่วยเล็ก->ใหญ่
เสียง>>พยางค์>>คำ>>วลี>>ประโยค
3.ลักษณะที่"เหมือนกัน"ของภาษาต่างๆ
-ใช้เสียงสื่อความหมาย ทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ
-มีชนิดของคำคล้ายกัน เช่น คำนาม คำกริยา
-มีวิธีแสดงความคิดเห็นคล้ายกัน เช่น คำถาม บอก เล่า ปฏิเสธ คำสั่ง
-สามารถขยายประโยคได้เรื่อยๆ
-เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาผ
-มีการใช้คำในความหมายใหม่(พวกสำนวน)
4.ลักษณะที่"ต่างกัน"ของภาษาต่างๆ
-เสียง
-วรรณยุกต์
-ไวยากรณ์
5.การเปลี่ยนแปลงของภาษา สาเหตุคือ
5.1)สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
-คำบางคำออกเสียงต่างกับคำสมัยก่อน เช่น
old >>>>>> new
ลางครั้ง ลางที บางครั้ง บางที
เข้า ข้าว
ผ่ายหน้า ผ่ายหลัง ภายหน้า ภายหลัง
เม็ดตา เมตตา
-คำบางคำมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น
ขายตัว (ใช้กับทาส) พวกกะหรี่
จริต ความประพฤติ มารยาหรืออื่นๆในความหมายเชิงลบ
สำส่อน ปนกัน รู้ๆกันอยู่
ห่ม (ใช้กับ)เสื้อหรือผ้า (ใช้กับ)ผ้าที่เป็นผืนเท่านั้น เช่น
ที่เป็นผืนก็ได้ เช่น ห่มผ้า ห่มผ้า ห่มจีวร ห่มสไบ
ห่มเสื้อ ห่มเกราะ
5.2)การพูดกันในชีวิตประจำวัน
-การกร่อนเสียง(ตัดเสียง) เช่น
หมากพร้าว- มะพร้าว ฉันนั้น-ฉะนั้น
อันไร-อะไร อันหนึ่ง-อนึ่ง
รื่นรื่น-ระรื่น วับวับ-วะวับ
-การกลืนเสียง(รวมเสียง) เช่น
อย่างไร-อย่างไง (ง กลืน ร)
อย่างนี้-อย่างงี้ (ง กลืน น)
อย่างนั้น-อย่างงั้น (ง กลืน น)
ดิฉัน-เดี๊ยน
5.3)อิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ
-ยืมคำจากจ่างประเทศมาใช้ เช่น เทป คลีนิค พีระมิด เต้าหู้ กุหลาบ ยูโด
-สำนวนภาษาต่างประเทศ
5.4)การเรียนภาษาของเด็ก
-เด็กออกเสียงไม่ชัด คำจึงเพี้ยน เช่น ขนม-หนม อร่อย-หร่อย
ที่มา : http://board.dserver.org/e/eleven/00000676.html
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
พันธกิจของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์ ภาษามีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย และในขณะเดียวกันภาษาก็มีอิทธิพลบางประการต่อมนุษย์
1.พันธกิจของภาษา
1.1 ภาษาช่วยธำรงสังคม ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขนั้น มนุษย์ต้องรู้จักใช้ภาษาเพื่อเป็ฯไมตรีต่อกัน เพื่อแสดงกฎเกรณฑ์ทางสังคมที่ต้องปฎิบัติร่วมกัน และเพื่อประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในสังคม สังคมจะธำรงอยู่ได้ 1.2 ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคล ภาษาที่บุคลใช้จะมีลักษณะต่างกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉาพะตัวของบุคคลนั้น 1.3 ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์มช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ให้แก่กันและกัน ทำให้มนุษย์มีความรู้กว้างขวามมากขึ้น 1.4 ภาษาช่วยกำหนดอนาคต การใช้ภาษาเพื่อกำหนดอนาคต เช่น การใช้คำสั่ง 1.5 ภาษาช่วยจรรโลงใจ มนุษย์พอใจที่จะได้ฟังเสียงที่มีท่วงทำนองไพเราะ จึงได้มีการนำภาษาไปเรียบเรียงเป็นเพลง เป็นคำประพันธ์ต่างๆ ที่มีสัมผัสไพเราะก่อให้เกิดความจรรโลงใจ
2.อิทธิพลของภาษา มนุษย์ส่วนมากไม่คำนึงว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งต่างๆ ทำให้มนุษย์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา นอกจากนี้ชื่อบางชื่อที่แฝงความหมายแสดงคุณสมบัติสิ่งที่ถูกเรียก ทำให้คำบางคำเป็นที่นิยมใช้ ในขณะที่คำบางคำเป็ฯที่รังเกียจ
1.พันธกิจของภาษา
1.1 ภาษาช่วยธำรงสังคม ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขนั้น มนุษย์ต้องรู้จักใช้ภาษาเพื่อเป็ฯไมตรีต่อกัน เพื่อแสดงกฎเกรณฑ์ทางสังคมที่ต้องปฎิบัติร่วมกัน และเพื่อประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในสังคม สังคมจะธำรงอยู่ได้ 1.2 ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคล ภาษาที่บุคลใช้จะมีลักษณะต่างกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉาพะตัวของบุคคลนั้น 1.3 ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์มช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ให้แก่กันและกัน ทำให้มนุษย์มีความรู้กว้างขวามมากขึ้น 1.4 ภาษาช่วยกำหนดอนาคต การใช้ภาษาเพื่อกำหนดอนาคต เช่น การใช้คำสั่ง 1.5 ภาษาช่วยจรรโลงใจ มนุษย์พอใจที่จะได้ฟังเสียงที่มีท่วงทำนองไพเราะ จึงได้มีการนำภาษาไปเรียบเรียงเป็นเพลง เป็นคำประพันธ์ต่างๆ ที่มีสัมผัสไพเราะก่อให้เกิดความจรรโลงใจ
2.อิทธิพลของภาษา มนุษย์ส่วนมากไม่คำนึงว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งต่างๆ ทำให้มนุษย์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา นอกจากนี้ชื่อบางชื่อที่แฝงความหมายแสดงคุณสมบัติสิ่งที่ถูกเรียก ทำให้คำบางคำเป็นที่นิยมใช้ ในขณะที่คำบางคำเป็ฯที่รังเกียจ
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
การใช้ภาษาพัฒนาความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับจะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำกิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับจะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำกิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น
เหตุผลกับภาษา
เหตุผลกับภาษา1. โครงสร้างของเหตุผล
1. เหตุผล (ข้อสนับสนุน)2. ข้อสรุป
2. ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผล
1. ถ้ากล่าวถึงเหตุผลก่อนข้อสรุป จะใช้คำ ว่า จึง ดังนั้นจึง ก็เลย ก็ย่อม ทำ ให้ เช่น
ขยันเรียนจึงสอบได้คะแนนดี
2. ถ้ากล่าวถึงข้อสรุปก่อนเหตุผล จะใช้คำ ว่า เพราะ เนื่องจาก ด้วย เช่น
เขาสอบได้คะแนนดีเพราะเขาขยันเรียน
3. การอนุมาน (การสรุป) คือ กระบวนการคิดหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย วิธีนี้เป็นไปได้อย่างแน่นอน เช่น
คนไทยทุกคนต้องการข้าวเป็นอาหาร เขาเป็นคนไทยเขาจึงต้องการข้าวเป็นอาหารด้วย
2. วิธีอุปนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม วีธีนี้อาจไม่แน่นอน เช่น
ฉันฟังเพลงลูกทุ่งแล้วเห็นว่าไพเราะมาก เมื่อทุกคนในห้องฟังแล้วก็น่าจะบอกว่าไพเราะด้วย
4. การอนุมานจากเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน ซึ่งจัดเป็นการอนุมานแบบอุปนัย เพราะไม่แน่นอนเสมอไป
1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล
2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
3. การอนุมานจากผลไปหาผล
ใช้ภาษาในการโต้แย้ง
ใช้ภาษาในการโต้แย้ง
การโต้แย้ง เป็นการแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุผล สถิติ หลักการ อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนทรรศนะของตนให้น่าเชื่อถือ และคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง
เรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของการโต้แย้ง
2. หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
3. กระบวนการโต้แย้ง
4. การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
5. ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้งคือ โครงสร้างของการแสดงเหตุผล เพราะกระบวนการโต้แย้งต้องอาศัยเหตุผลเป็นสำคัญ ซึ่งการโต้แย้งจะต้องประกอบด้วย “ข้อสรุป” และ “เหตุผล” ดังตัวอย่าง
ทรรศนะที่ 1 นักเรียนระดับมัธยมตอนปลายของโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว (เหตุผล)
ดังนั้นโรงเรียนของเราจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชีพที่มีอยู่ในหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ข้อสรุปหรือข้อเสนอทรรศนะ)
ทรรศนะที่ 2 เรายังไม่ได้สำรวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยแม้แต่ครั้งเดียวว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักเรียนของเราในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมุ่งหมายที่จะไปทำอะไรต่อไป จะมีก็เพียงแต่การคาดคะเนเอาเองตามความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้น (เหตุผล)
ฉะนั้นเราอาจประสบความล้มเหลวก็ได้ ถ้าเรามุ่งที่จะเปิดวิชาพื้นฐานอาชีพให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้เคยเปิดมาแล้ว (ข้อสรุปหรือข้อโต้แย้งทรรศนะที่ ๑)
ทรรศนะที่ 1 นักเรียนระดับมัธยมตอนปลายของโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว (เหตุผล)
ดังนั้นโรงเรียนของเราจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชีพที่มีอยู่ในหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ข้อสรุปหรือข้อเสนอทรรศนะ)
ทรรศนะที่ 2 เรายังไม่ได้สำรวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยแม้แต่ครั้งเดียวว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักเรียนของเราในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมุ่งหมายที่จะไปทำอะไรต่อไป จะมีก็เพียงแต่การคาดคะเนเอาเองตามความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้น (เหตุผล)
ฉะนั้นเราอาจประสบความล้มเหลวก็ได้ ถ้าเรามุ่งที่จะเปิดวิชาพื้นฐานอาชีพให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้เคยเปิดมาแล้ว (ข้อสรุปหรือข้อโต้แย้งทรรศนะที่ ๑)
ทรรศนะที่ 3 – การสอบเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะสอบครั้งเดียวก็พอ จะได้ลดภาวะความเครียดของเด็ก สอบครั้งเดียวก็น่าจะตัดสินได้ เพราะเด็กที่เก่ง จะสอบกี่ครั้งก็ได้คะแนนดีทุกครั้ง
ทรรศนะที่ 4 – เด็กที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ควรต้องผ่านการทดสอบหลายๆ ด้าน การวัดเฉพาะความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการวัดด้านความถนัดด้วย เพราะการเรียนในระดับสูงเด็กต้องวิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ รู้จักเชื่อมโยง และการสอบหลายครั้งทำให้เด็กได้มีโอกาสเลือก
โครงสร้างของการโต้แย้งอาจขยายกว้างออกไปเป็นเหตุผลหลายข้อประกอบกัน และมีข้อสรุปหลายข้อด้วยก็ได้ ข้อสนับสนุนและข้อสรุปจะสั้นยาวเพียงใด อยู่ที่ดุลพินิจของผู้โต้แย้ง
หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
ตามปกติหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้งกว้างขวางมากไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ในการโต้แย้งจริงๆ ต้องกำหนดประเด็นในการโต้แย้งเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โต้แย้งกันให้ตรงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง ผู้ที่เริ่มการโต้แย้งควรเสนอสิ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายตรงข้ามอาจคัดค้านการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยอ้างเหตุผลมาหักล้าง เพื่อชี้ให้เห็นว่าข้อเสนอนั้นไม่เหมาะสม หรือไม่มีประโยชน์
กระบวนการโต้แย้ง
กระบวนการโต้แย้งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
2. การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม
การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน ซึ่งผู้โต้แย้งต้องรู้จักวิธีการตั้งประเด็นโดยไม่ให้ออกนอกประเด็น การโต้แย้งจะต้องรู้ว่ากำลังโต้แย้งเกี่ยวกับทรรศนะประเด็นใด เพื่อจะได้ไม่ได้แย้งออกนอกประเด็น แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม การโต้แย้งประเภทนี้เริ่มจากมีผู้เสนอทรรศนะของตน เพื่อให้บุคคลอื่นพิจารณายอมรับ ผู้เสนอทรรศนะก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อเสนอของตน ชี้ให้เห็นว่าหลักการเดิมนั้นมีจุดอ่อนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แล้วเสนอหลักการใหม่ที่จะแก้ไขจุดอ่อนนั้นได้ และชี้ให้เห็นผลดีที่ได้รับจากหลักการใหม่นั้น การโต้แย้งประเภทนี้มีข้อที่ควรคำนึงของทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้งดังนี้
ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 ชี้ให้เห็นข้อเสียหายของสภาพเดิม
ประเด็นที่ 2 เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้
ประเด็นที่ 3 ชี้ให้เห็นผลดีของข้อเสนอ
ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 ชี้แจงว่าไม่มีข้อเสียหาย หรือมีก็ไม่มากนัก
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าข้อเสนอนั้นปฏิบัติได้ยาก
ประเด็นที่ 3 แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม
2. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้ง ควรคำนึงในเรื่องต่อไปนี้
ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 เรื่องนำมาอ้างมีอยู่จริง อยู่ที่ไหน
ประเด็นที่ 2 การตรวจสอบว่าเรื่องนั้นมีจริงๆ สามารถตรวจสอบได้
ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 แย้งว่าเรื่องนั้นไม่มีอยู่จริง
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าได้ตรวจสอบแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามี
3. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า การโต้แย้งประเภทนี้จะมีความรู้สึกส่วนตัวแทรกอยู่ด้วย
การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำว่า คำ ที่ต้องการจะโต้แย้งนั้นมีขอบเขตความหมายอย่างไร เพียงใด เพื่อการโต้แย้งจะได้เข้าใจตรงกัน ไม่ให้สับสน วิธีการนิยามอาจทำได้โดยใช้พจนานุกรม สารานุกรม หรือนิยามด้วยการเปรียบเทียบ หรือยกตัวอย่างก็ได้
การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
ทรรศนะจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อสนับสนุนผู้โต้แย้งต้องพยายามแสดงทรรศนะที่มีข้อสนับสนุนที่หนักแน่น หลักฐานและเหตุผลต่างๆ เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างน่าเชื่อถือ วิธีการเรียบเรียงข้อสนับสนุนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่ส่วนอารัมภบทต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ชวนให้ติดตามการแสดงทรรศนะนั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นการโต้แย้งต้องแสดงข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง และตรงตามความเป็นจริง
การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม
จุดอ่อนของทรรศนะของบุคคลจะอยู่ที่การนิยามคำสำคัญ ปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล และสมมติฐานและวิธีการอนุมาน ผู้โต้แย้งจะต้องชี้ให้เห็นจุดอ่อนของการนิยามของฝ่ายตรงข้ามว่ามีจุดอ่อนอย่างไร
จุดอ่อนในด้านการนิยามคำสำคัญ นิยามที่ดีจะต้องชัดเจน รัดกุม นิยามที่ไม่ดี มีลักษณะดังนี้
1. นำเอาคำที่นิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม
2. ข้อความที่ใช้นิยามมีถ้อยคำที่เข้าใจยากจนสื่อความหมายไม่ได้
3. ผู้นิยามมีเจตนาไม่สุจริต สร้างข้อโต้แย้งให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน
จุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่นำมาแสดงทรรศนะผิดพลาดหรือน้อยเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
จุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน สมมติฐานหรือการอนุมานจะด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน กล่าวคือ ต้องเป็นสมมติฐานที่ไม่เลื่อนลอย เป็นวิธีการอนุมานที่ไม่มีความผิดพลาด ถ้าชี้ให้เห็นว่าสมมติฐานมีจุดอ่อน ไม่ควรค่าแก่การยอมรับวิธีการอนุมานผิดพลาด ก็จะทำให้ทรรศนะนั้นมีน้ำหนักน้อย ไม่น่าเชื่อถือ
การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
การที่จะตัดสินว่าทรรศนะของฝ่ายใดควรแก่การยอมรับ หรือไม่ยอมรับนั้น มี 2 วิธี คือ
1. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่นำมาโต้แย้งกันเท่านั้น
2. พิจารณาโดยใช้ดุลพินิจในคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด
ข้อควรสังเกตในการโต้แย้ง มีดังนี้
1. การโต้แย้งทำให้มีความคิดที่กว้างไกลขึ้น มองเห็นผลดีและผลเสียชัดเจนขึ้น
2. การโต้แย้งไม่กำหนดระยะเวลา วิธีการ จำนวนบุคคล และสถานะของผู้โต้แย้ง
3. การโต้แย้งแตกต่างจากการโต้เถียง เพราะเป็นการใช้ความคิดและวิจารณญาณที่อาศัยเหตุผลและหลักฐานเป็นสำคัญ
ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
1. หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ พยายามทำใจให้เป็นกลาง เคารพในเหตุผลของกันและกัน โต้แย้งให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
2. มีมารยาทในการโต้แย้ง ควรใช้ภาษาที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และเนื้อหา แสดงความอ่อนน้อมและมีสัมมาคารวะ
3. เลือกประเด็นในการโต้แย้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงประเด็นที่ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงที่แน่นอน หรือประเด็นที่โต้กันแล้วจะทำให้เกิดการแตกแยกเข้าใจผิด ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
*****************************
การใช้ภาษาโน้มน้าวใจ
การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่มนวล ในน้ำเสียง ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
1. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ แถลงการณ์ เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจ หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว ทางวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อสินค้า ที่ตนเองจำหน่าย พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้
2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร
2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
2.3 เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือบริการ
2.4 ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า
2.5 เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม
2.6 การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่าง ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป 1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
การพูดโน้มน้าวใจ
ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคล ทั้งโดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ หลักการสำคัญของการพูดโน้มน้าวใจ ได้แก่ การทำให้มนุษย์ประจักษ์ว่า ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่า หรือทำตามที่ ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำแล้ว ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตนนั่นเอง แต่ตราบใดที่ความประจักษ์ชัดยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือว่าการโน้มน้าวใจยังไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นผู้โน้มน้าวใจควรได้ตระหนักถึงประเด็นของการนำเสนอเหตุผลเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ เห็นความสำคัญและยอมรับการโน้มน้าวใจ
ตัวอย่างสารโน้มน้าวใจ
ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว แลริ้วริ้วสลับงามเป็นสามสี
ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้ แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ
ไทยรุ่นเยาว์ยืนเรียบระเบียบแถว ดวงตาแน่วนิ่งตรงธงไสว
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ฟังคราใดเลือดซ่านแล่นพร่านทรวง
ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก เราแสนรักและแสนจะแหนหวง
แผ่นดินไทยไทยต้องครองทั้งปวง ชีพไม่ล่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี
เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี
เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี แม้ไพรีได้ฟังยังถอนใจ
แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้
บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง
ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้ แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ
ไทยรุ่นเยาว์ยืนเรียบระเบียบแถว ดวงตาแน่วนิ่งตรงธงไสว
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ฟังคราใดเลือดซ่านแล่นพร่านทรวง
ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก เราแสนรักและแสนจะแหนหวง
แผ่นดินไทยไทยต้องครองทั้งปวง ชีพไม่ล่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี
เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี
เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี แม้ไพรีได้ฟังยังถอนใจ
แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้
บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง
ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
นภาลัย ฤกษ์ชนะ ผู้ประพันธ์
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ
1. การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดาบุคคล ที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่น ย่อมได้รับความเชื่อถือ จากบุคคลทั่วไป
2. การแสดงให้เห็น ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่ตนกำลัง โน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
3. การแสดงให้เห็นถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วม บุคคลที่มีอารมณ์ร่วมกันคล้อยตามกัน ได้ง่ายกว่าบุคคล ที่มีความรู้สึกอคติต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะประสบความสำเร็จ
4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย ผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ โดยชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร
5. การสร้างความสุขให้แก่ผู้รับสาร การเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้
6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสนอแนะได้ง่าย
2. การแสดงให้เห็น ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่ตนกำลัง โน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
3. การแสดงให้เห็นถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วม บุคคลที่มีอารมณ์ร่วมกันคล้อยตามกัน ได้ง่ายกว่าบุคคล ที่มีความรู้สึกอคติต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะประสบความสำเร็จ
4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย ผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ โดยชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร
5. การสร้างความสุขให้แก่ผู้รับสาร การเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้
6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสนอแนะได้ง่าย
การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวล ในน้ำเสียง
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
1. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ แถลงการณ์ เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจ หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว ทางวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อสินค้า ที่ตนเองจำหน่าย พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้
2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร
2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
2.3 เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือบริการ
2.4 ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า
2.5 เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม
2.6 การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่าง ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวล ในน้ำเสียง
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
1. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ แถลงการณ์ เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจ หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว ทางวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อสินค้า ที่ตนเองจำหน่าย พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้
2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร
2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
2.3 เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือบริการ
2.4 ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า
2.5 เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม
2.6 การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่าง ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
การแสดงทรรศนะ
ทรรศนะ = ความคิดเห็น
- ทรรศนะ (ความคิดเห็น) = ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
- มีหลายคำที่บอกให้รู้เป็นทรรศนะหรือความเห็น เช่น น่าจะ คงจะ อาจจะ ควรจะ
ประเภททรรศนะ มี 3ประเภท
1. เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
- เป็นความเห็นที่เกี่ยวกับ " ความจริงที่เกิดขึ้น " ว่าจริงๆ เป็นอย่างไง
- ทรรศนะแบบนี้เข้าลักษณะ การสันนิษฐาน หรือ คาดคะเน เช่น เขาคงสอบเอนทรานซ์ติดแน่น ปัญหาจราจรกรุงเทพแก้ไม่ได้
2. เกี่ยวกับคุณค่า (ค่านิยม)
- เป็นการออกความเห็นเพื่อตัดสินว่าดีหรือไม่ดี เช่น เธอทำกับข้าวอร่อยมาก เวลาเธอถ่ายสติ๊กเกอร์ยิ้มน่ารักจัง
3. เกี่ยวกับนโยบาย
- เป็นการออกความเห็นเพื่อ เสนอแนะ แนะนำ เตือน เช่น เขาน่าจะไปโรงยิมซะหน่อยน้ำหนักจะได้ลด
- ทรรศนะ (ความคิดเห็น) = ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
- มีหลายคำที่บอกให้รู้เป็นทรรศนะหรือความเห็น เช่น น่าจะ คงจะ อาจจะ ควรจะ
ประเภททรรศนะ มี 3ประเภท
1. เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
- เป็นความเห็นที่เกี่ยวกับ " ความจริงที่เกิดขึ้น " ว่าจริงๆ เป็นอย่างไง
- ทรรศนะแบบนี้เข้าลักษณะ การสันนิษฐาน หรือ คาดคะเน เช่น เขาคงสอบเอนทรานซ์ติดแน่น ปัญหาจราจรกรุงเทพแก้ไม่ได้
2. เกี่ยวกับคุณค่า (ค่านิยม)
- เป็นการออกความเห็นเพื่อตัดสินว่าดีหรือไม่ดี เช่น เธอทำกับข้าวอร่อยมาก เวลาเธอถ่ายสติ๊กเกอร์ยิ้มน่ารักจัง
3. เกี่ยวกับนโยบาย
- เป็นการออกความเห็นเพื่อ เสนอแนะ แนะนำ เตือน เช่น เขาน่าจะไปโรงยิมซะหน่อยน้ำหนักจะได้ลด
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วิเคราะห์วรรณกรรมเพลง
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง หลักทั่วไปของการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์
องค์ประกอบที่สำคัญของงานประพันธ์ คือ เนื้อหาและรูปแบบ งานประพันธ์เรื่องใดมีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา ก่อให้เกิดความกลมกลืนอย่างมีศิลปะ งานประพันเรื่องนั้นจัดถึงขั้นวรรณคดีได้ แต่บางเรื่องที่ยังไม่ถึงขั้นวรรณคดีเรียนว่า วรรณกรรม เป็นคำเรียกกลาง ๆ
เนื้อหาของงานประพันธ์ หมายถึงใจความสำคัญเพียงใจความเดียว หรือหลายๆใจความต่อเนื่องกัน อันประกอบกันขึ้นมาเป็นเนื้อหา ในเนื้อหานั้นจะมีใจความสำคัญ เรียกว่า สาระสำคัญที่สุด และสารที่สำคัญรองๆ ลงไปที่ผู้ประพันธ์เจตนจะสื่อไปยังผู้อ่านอีกด้วย
คุณค่างานประพันธ์
1.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือคุณค่าทางด้านการแต่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ควรเลือกใช้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีในการแต่งที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่ใช้ไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจและให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์
2.คุณค่าด้านสังคม งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคม มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคมและในส่วนจรรโลงใจหรือพัฒนาสังคม
แนวคิดหมายถึง
1.ความคิดสำคัญ ซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
2.ความคิดอื่นๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง
ค่านิยมหมายถึง
1.ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมีความหมายหรือความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของตน
2.ความเชื่อมั่น และการยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
3.คุณค่าด้านเนื้อหา วรรณคดีแต่ละเรื่องจะมีคุณค่าด้านเนื้อหาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณคดี ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทสารคดีก็จะเน้นเนื้อหาสาระให้ความรู้ความคิดในด้านวิชาการ ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีก็จะเน้นบันเทิงเป็นหลัก
ใบความรู้ที่ 2
เรื่องการใช้โวหารภาพพจน์
การใช้โวหาร คือการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึก และอารมณ์ การใช้โวหารดังกล่าวมีอยู่หลายลักษณะ เรียกว่าภาษาภาพพจน์ ได้แก่
1.อุปมา( Simile )
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราว กับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปานประหนึ่งเพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
ปัญญาประดุจดังอาวุธ
ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ เก่งนา
สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
2.อุปลักษณ์ ( Metaphor )
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับ อุปมาโวหาร คือ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น
ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
ทหารเป็นรั้วของชาติ
เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
3.ปฏิพากย์ ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สนุกฉิบหาย
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
4.อติพจน์(Hyperbole)
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
คิดถึงใจจะขาด
คอแห้งเป็นผง
ร้อนตับจะแตก
หนาวกระดูกจะหลุด
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์" ตัวอย่างเช่น
เล็กเท่าขี้ตาแมว
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
รอสักอึดใจเดียว
5.บุคลาธิษฐาน (Personification)
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์
(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
ตัวอย่างเช่น
มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา เชิดหน้าได้ดิบได้ดี
เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง
6.สัญลักษณ์ (symbol)
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานาน จนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น
เมฆหมอก แทน อุปสรรค
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์
กุหลาบแดง แทน ความรัก
หงส์ แทน คนชั้นสูง
กา แทน คนต่ำต้อย
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
แสงสว่าง แทน สติปัญญา
เพชร แทน ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ
แก้ว แทน ความดีงาม ของมีค่า
ลา แทน คนโง่ คนน่าสงสาร
ลา แทน คนพาล คนคด
สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์
7.นามนัย (Metonymy)
นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้าย ๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ
ฉัตร หมายถึง กษัตริย์
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความ
8.สัทพจน์ (Onematoboeia)
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯการใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น
ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนกร้อง จิ๊บ ๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด
ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น
9.ธรรมาธิษฐาน หมายถึงการยกบุคคลขึ้นเป็นหลักในการอธิบาย เช่น ยกเรื่องพญามารขึ้นมาเพื่อ
อธิบายเรื่องของกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ให้เข้าใจง่ายขึ้น ใช้ในพระพุทธศาสนา
10.อุปมานิทัศน์ คือการใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ผู้ฟัง เช่น
เรื่องนี้ก็เข้าทำนองหมาป่ากับลูกแกะนั่นแหละ
ไม่รู้บุญคุณคน อกตัญญูเหมือนเรื่องชาวนากับงูเห่า
11.ไวพจน์ คือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น
- ดอกไม้ = มาลี ผกา บุปผาชาติ บุหงา
- นก = วิหก ทิชาชาติ โนรี สกุณา
- งาม = โสภา เสาวภา เสาวลักษณ์ วิลาศ
ใบความรู้ที่ 3
เรื่อง ความงามกับภาษา
ความงาม คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนได้เห็น ได้ยิน และได้สัมผัส เกิดความชื่นชม ยินดี เบิกบาน ติดตรึงใจอยู่เป็นนิจ กล่าวเฉพาะภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 ข้อ คือ
1.การเลือกสรรคำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก อารมณ์ ได้อย่างงดงามตรงตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีอยู่จริง เรียกว่า การสรรคำ
2. การจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วนั้นต่อเนื่องเป็นลำดับ ร้อยเรียงกันอย่างไพเราะ เหมาะสม ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษา และได้จังหวะ ในกรณีที่เป็นบทร้อยกรองจะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ด้วย เรียกว่า การเรียบเรียงคำ
3. การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่เป็นอยู่ปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ตรงกับภาษาที่ใช้อย่างตรงไปตรงมา เรียกว่า การใช้โวหารการสรรคำ ผู้ส่งสารจะต้องสรรคำให้ตรงตามที่ต้องการ เหมาะแก่บริบท เนื้อเรื่อง และฐานะของบุคคลในเรื่องโวหารและรูปแบบคำประพันธ์
นอกจากนี้ยังต้องสรรคำโดยคำนึงถึงความงามด้านเสียงด้วยดังนี้
1. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น “วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้วบดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ตัวอย่างเช่น “ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง” (นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่)
ผู้ประพันธ์เลือกสรรคำใช้ได้เหมาะสมแก่เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนดของคนเมืองเพชร ทำให้ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นนึกภาพได้อย่างชัดเจน
3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง แต่คำบางคำ ใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น “เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล (กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
4. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ “คำไวพจน์” หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น
“มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายถึงดอกไม้ ใช้เฉพาะในคำประพันธ์เท่านั้น
5. เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง 5.1 คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น “กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์ “เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง (นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่)
เป็นคำเลียนเสียงสัตว์ประเภทลิง ค่าง บ่าง ชะนี หน้า ๓
5.2 คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น “ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
5.3 คำที่เล่นเสียงสัมผัส คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจาให้คล้องจองกันดังจะเห็นได้จากสำนวน พังเพย สุภาษิต ชื่อเฉพาะ คำขวัญ ที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน เช่น
สำนวน พังเพย สุภาษิต - กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก - ข้าวยากหมากแพง - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา - จับดำถลำแดง - เจ้าชู้ไก่แจ้ - ผัวเมียผิดกันอย่าพ้อง พี่น้องผิดกันอย่าพลอย - หูป่าตาเถื่อน - เป็ดขันประชันไก่ - เยิ่นเย้อกฐินบก - ยื่นหมูยื่นแมว - ออกเรือหาถ่อ ตั้งหม้อหาฟืน - เหล้าข้าวกินด้วยกัน นกกระทาไม่ให้ใคร
ชื่อเฉพาะ - มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์กร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ (ชื่อแบบเรียน 6 เล่ม ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)) - เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
คำขวัญ - ช่วยชีวิตท่านได้ หากใช้หมวกกันน็อก
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
- เมตตาเป็นทุน เกื้อหนุนชุมชน
- มั่นคงด้วยรากฐาน บริการด้วยน้ำใจ
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
5.4 คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี
(อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
วสันตดิลกฉันท์ ๑
ถือสรรพอาวุธฉคึก มนะนึกคะนึงคุณ
สมเด็จพระจอมพรอดุล อติเทพกษัตริย์ไทย
ออกสัประยุทธ์คณะริปู จรจู่ผจญภัย
หนุนเนื่องระดมพลคระไล บมิยั่นแสยงหยอน
(คำประพันธ์บางเรื่อง ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร)
“ทันใดนั้นเอง หล่อนก็หยุดเมื่อถึงฝั่งลำธาร บรรดาเงาต่างก็พลอยหยุดไปด้วย นอกจากเงาเดียวซึ่งทาบอยู่หลังเสาไฟในระหว่างหล่อนกับข้าพเจ้า เงานั้นคงเคลื่อนต่อไป ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนลูกมะพร้าวที่ลอยอยู่กลางกระแสน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มุ่งเข้าหาเหยื่อ ใกล้เข้าไปเข้าไปเป็นลำดับ ข้าพเจ้าได้แต่จับตาดูอย่างแทบกลั้นหายใจราวกับถูกมนต์สะกดขยับเขยื้อนเคลื่อนอิริยาบถไม่ได้ชั่วขณะหนึ่ง” (ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์) ผู้อ่านเป็นจะรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาที่คำบางคำ ข้อความที่มีลักษณะเป็นพรรณนาโวหารเช่นนี้ ถ้าผู้อ่านใช้ศิลปะของการอ่านช่วยก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ ดังที่นักแสดงวิทยุอ่านนิทาน นิยาย ทางวิทยุกระจายเสียง
6.เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
(ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกชู้
ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
1. แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1-3
ใบความรู้ที่ 1 เรื่องหลักทั่วไปในการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์ ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความงามของภาษา ใบความรู้ที่ 3 เรื่องโวหารภาพพจน์
ตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิลป์จากบทเพลง
เพลงพิษณุโลกพาฝัน
เพลง พิษณุโลกรำลึก
เพลงพิษณุโลก
เพลงเก็บตะวัน
เพลงตะวันชิงพลบ
เพลงบัวแล้งน้ำ
เพลงคือหัตถาครองพิภพ
เพลงอิ่มอุ่น
เพลงผู้หญิงของแผ่นดิน
เพลงของขวัญจากก้อนดิน
เพลงไผ่รวมกอ
เพลงกุหลาบแดง
เพลงทะเลใจ
เพลงพรหมลิขิต
เพลงหยาดเพชร
เพลงถ้าฉันไม่อยู่แล้วใครจะดูแลเธอ
เพลงฉันรักเธอเท่าฟ้า
เพลงหนึ่งในร้อย
เพลงแสงหนึ่งคือรุ้งงาม
เพลงเธอเป็นแฟนฉันแล้ว
เพลงเธอที่รัก
เรื่อง หลักทั่วไปของการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์
องค์ประกอบที่สำคัญของงานประพันธ์ คือ เนื้อหาและรูปแบบ งานประพันธ์เรื่องใดมีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา ก่อให้เกิดความกลมกลืนอย่างมีศิลปะ งานประพันเรื่องนั้นจัดถึงขั้นวรรณคดีได้ แต่บางเรื่องที่ยังไม่ถึงขั้นวรรณคดีเรียนว่า วรรณกรรม เป็นคำเรียกกลาง ๆ
เนื้อหาของงานประพันธ์ หมายถึงใจความสำคัญเพียงใจความเดียว หรือหลายๆใจความต่อเนื่องกัน อันประกอบกันขึ้นมาเป็นเนื้อหา ในเนื้อหานั้นจะมีใจความสำคัญ เรียกว่า สาระสำคัญที่สุด และสารที่สำคัญรองๆ ลงไปที่ผู้ประพันธ์เจตนจะสื่อไปยังผู้อ่านอีกด้วย
คุณค่างานประพันธ์
1.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือคุณค่าทางด้านการแต่ง ซึ่งผู้ประพันธ์ควรเลือกใช้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีกลวิธีในการแต่งที่น่าสนใจ ถ้อยคำที่ใช้ไพเราะสละสลวย ให้อารมณ์สะเทือนใจและให้สารที่มีความคิดสร้างสรรค์
2.คุณค่าด้านสังคม งานประพันธ์ที่ดีจะสะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคม มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคมและในส่วนจรรโลงใจหรือพัฒนาสังคม
แนวคิดหมายถึง
1.ความคิดสำคัญ ซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
2.ความคิดอื่นๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง
ค่านิยมหมายถึง
1.ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมีความหมายหรือความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของตน
2.ความเชื่อมั่น และการยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
3.คุณค่าด้านเนื้อหา วรรณคดีแต่ละเรื่องจะมีคุณค่าด้านเนื้อหาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณคดี ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทสารคดีก็จะเน้นเนื้อหาสาระให้ความรู้ความคิดในด้านวิชาการ ถ้าเป็นวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีก็จะเน้นบันเทิงเป็นหลัก
ใบความรู้ที่ 2
เรื่องการใช้โวหารภาพพจน์
การใช้โวหาร คือการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึก และอารมณ์ การใช้โวหารดังกล่าวมีอยู่หลายลักษณะ เรียกว่าภาษาภาพพจน์ ได้แก่
1.อุปมา( Simile )
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราว กับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปานประหนึ่งเพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
ปัญญาประดุจดังอาวุธ
ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ เก่งนา
สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
2.อุปลักษณ์ ( Metaphor )
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับ อุปมาโวหาร คือ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น
ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
ทหารเป็นรั้วของชาติ
เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
3.ปฏิพากย์ ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สนุกฉิบหาย
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
4.อติพจน์(Hyperbole)
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
คิดถึงใจจะขาด
คอแห้งเป็นผง
ร้อนตับจะแตก
หนาวกระดูกจะหลุด
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์" ตัวอย่างเช่น
เล็กเท่าขี้ตาแมว
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
รอสักอึดใจเดียว
5.บุคลาธิษฐาน (Personification)
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์
(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
ตัวอย่างเช่น
มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา เชิดหน้าได้ดิบได้ดี
เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง
6.สัญลักษณ์ (symbol)
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานาน จนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น
เมฆหมอก แทน อุปสรรค
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์
กุหลาบแดง แทน ความรัก
หงส์ แทน คนชั้นสูง
กา แทน คนต่ำต้อย
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
แสงสว่าง แทน สติปัญญา
เพชร แทน ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ
แก้ว แทน ความดีงาม ของมีค่า
ลา แทน คนโง่ คนน่าสงสาร
ลา แทน คนพาล คนคด
สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์
7.นามนัย (Metonymy)
นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้าย ๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ
ฉัตร หมายถึง กษัตริย์
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความ
8.สัทพจน์ (Onematoboeia)
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯการใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น
ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนกร้อง จิ๊บ ๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด
ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น
9.ธรรมาธิษฐาน หมายถึงการยกบุคคลขึ้นเป็นหลักในการอธิบาย เช่น ยกเรื่องพญามารขึ้นมาเพื่อ
อธิบายเรื่องของกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ให้เข้าใจง่ายขึ้น ใช้ในพระพุทธศาสนา
10.อุปมานิทัศน์ คือการใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ผู้ฟัง เช่น
เรื่องนี้ก็เข้าทำนองหมาป่ากับลูกแกะนั่นแหละ
ไม่รู้บุญคุณคน อกตัญญูเหมือนเรื่องชาวนากับงูเห่า
11.ไวพจน์ คือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น
- ดอกไม้ = มาลี ผกา บุปผาชาติ บุหงา
- นก = วิหก ทิชาชาติ โนรี สกุณา
- งาม = โสภา เสาวภา เสาวลักษณ์ วิลาศ
ใบความรู้ที่ 3
เรื่อง ความงามกับภาษา
ความงาม คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนได้เห็น ได้ยิน และได้สัมผัส เกิดความชื่นชม ยินดี เบิกบาน ติดตรึงใจอยู่เป็นนิจ กล่าวเฉพาะภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 ข้อ คือ
1.การเลือกสรรคำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก อารมณ์ ได้อย่างงดงามตรงตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีอยู่จริง เรียกว่า การสรรคำ
2. การจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วนั้นต่อเนื่องเป็นลำดับ ร้อยเรียงกันอย่างไพเราะ เหมาะสม ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษา และได้จังหวะ ในกรณีที่เป็นบทร้อยกรองจะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ด้วย เรียกว่า การเรียบเรียงคำ
3. การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่เป็นอยู่ปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ตรงกับภาษาที่ใช้อย่างตรงไปตรงมา เรียกว่า การใช้โวหารการสรรคำ ผู้ส่งสารจะต้องสรรคำให้ตรงตามที่ต้องการ เหมาะแก่บริบท เนื้อเรื่อง และฐานะของบุคคลในเรื่องโวหารและรูปแบบคำประพันธ์
นอกจากนี้ยังต้องสรรคำโดยคำนึงถึงความงามด้านเสียงด้วยดังนี้
1. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น “วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้วบดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ตัวอย่างเช่น “ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง” (นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่)
ผู้ประพันธ์เลือกสรรคำใช้ได้เหมาะสมแก่เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนดของคนเมืองเพชร ทำให้ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นนึกภาพได้อย่างชัดเจน
3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง แต่คำบางคำ ใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น “เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล (กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
4. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ “คำไวพจน์” หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น
“มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายถึงดอกไม้ ใช้เฉพาะในคำประพันธ์เท่านั้น
5. เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง 5.1 คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น “กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์ “เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง (นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่)
เป็นคำเลียนเสียงสัตว์ประเภทลิง ค่าง บ่าง ชะนี หน้า ๓
5.2 คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น “ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
5.3 คำที่เล่นเสียงสัมผัส คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจาให้คล้องจองกันดังจะเห็นได้จากสำนวน พังเพย สุภาษิต ชื่อเฉพาะ คำขวัญ ที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน เช่น
สำนวน พังเพย สุภาษิต - กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก - ข้าวยากหมากแพง - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา - จับดำถลำแดง - เจ้าชู้ไก่แจ้ - ผัวเมียผิดกันอย่าพ้อง พี่น้องผิดกันอย่าพลอย - หูป่าตาเถื่อน - เป็ดขันประชันไก่ - เยิ่นเย้อกฐินบก - ยื่นหมูยื่นแมว - ออกเรือหาถ่อ ตั้งหม้อหาฟืน - เหล้าข้าวกินด้วยกัน นกกระทาไม่ให้ใคร
ชื่อเฉพาะ - มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์กร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ (ชื่อแบบเรียน 6 เล่ม ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)) - เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
คำขวัญ - ช่วยชีวิตท่านได้ หากใช้หมวกกันน็อก
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
- เมตตาเป็นทุน เกื้อหนุนชุมชน
- มั่นคงด้วยรากฐาน บริการด้วยน้ำใจ
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
5.4 คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี
(อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
วสันตดิลกฉันท์ ๑
ถือสรรพอาวุธฉคึก มนะนึกคะนึงคุณ
สมเด็จพระจอมพรอดุล อติเทพกษัตริย์ไทย
ออกสัประยุทธ์คณะริปู จรจู่ผจญภัย
หนุนเนื่องระดมพลคระไล บมิยั่นแสยงหยอน
(คำประพันธ์บางเรื่อง ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร)
“ทันใดนั้นเอง หล่อนก็หยุดเมื่อถึงฝั่งลำธาร บรรดาเงาต่างก็พลอยหยุดไปด้วย นอกจากเงาเดียวซึ่งทาบอยู่หลังเสาไฟในระหว่างหล่อนกับข้าพเจ้า เงานั้นคงเคลื่อนต่อไป ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนลูกมะพร้าวที่ลอยอยู่กลางกระแสน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มุ่งเข้าหาเหยื่อ ใกล้เข้าไปเข้าไปเป็นลำดับ ข้าพเจ้าได้แต่จับตาดูอย่างแทบกลั้นหายใจราวกับถูกมนต์สะกดขยับเขยื้อนเคลื่อนอิริยาบถไม่ได้ชั่วขณะหนึ่ง” (ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์) ผู้อ่านเป็นจะรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาที่คำบางคำ ข้อความที่มีลักษณะเป็นพรรณนาโวหารเช่นนี้ ถ้าผู้อ่านใช้ศิลปะของการอ่านช่วยก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ ดังที่นักแสดงวิทยุอ่านนิทาน นิยาย ทางวิทยุกระจายเสียง
6.เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
(ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกชู้
ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
ใบงาน
งานกลุ่ม ๆ ละ 3 คน
งานกลุ่ม ๆ ละ 3 คน
เรื่องวิเคราะห์บทเพลง
ขั้นตอนการปฏิบัติ1. แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1-3
ใบความรู้ที่ 1 เรื่องหลักทั่วไปในการพิจารณาคุณค่างานประพันธ์ ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความงามของภาษา ใบความรู้ที่ 3 เรื่องโวหารภาพพจน์
2. แต่ละกลุ่มศึกษาและวิเคราะห์บทเพลงกลุ่มละ 1 เพลง (จับฉลากเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน)โดยสรุปองค์ความรู้เป็นแผนที่ความคิด และวิเคราะห์ลงในแบบตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิป์จากเพลง
3.การวิเคราะห์ต้องมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 จุดประสงค์ของเพลง
3.2 เนื้อความของบทเพลง
3.3 คุณค่าทางจิตใจ/อารมณ์/สังคม
3.4 คุณค่าทางภาษาไทยหรือความงามทางภาษา(การสรรคำ/กลวิธีการเรียบเรียงคำ/การใช้โวหาร)
4. ส่งตัวแทนนำเสนอผลงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่างๆ เช่น Power Point หรือ e-book หรือ นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) หรือ Movie Maker
5. ระหว่างที่สมาชิกปฏิบัติกิจกรรมจะถูกประเมินผลตามแบบประเมินโดยเพื่อนกลุ่มอื่น
6. กำหนดการส่งงานหลังจากนี้ 1 สัปดาห์
7. การส่งงาน
7.1 รายงาน 1 ฉบับ
7.2 แผ่น C.D. นำเสนอ 1 แผ่น ในแผ่นประกอบ ด้วย แผนที่ความคิด, รายงาน, เพลง ,เนื้อเพลง, Power Point หรือ e-book หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) หรือ Movie Maker
ตารางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณศิลป์จากบทเพลง
ชื่อ...................................................................................................ชั้น......................................................
วิชา......................................................................โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ที่ | เพลง | ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง | การสรรคำ | การเรียบเรียงคำ | โวหาร | ||||||||||||||
ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย | ใช้คำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล | ใช้คำให้เหมาะแก่ลักษณะของคำประพันธ์ | เลือกคำโดยคำนึงถึงเสียง | สาระสำคัญอยู่ท้ายสุด | ความสำคัญเท่ากัน | เนื้อหาเข้มข้นจนขั้นสุดท้าย | เข้มข้นขึ้นไป แต่คลายลงในช่วงหรือประโยคสุดท้าย | ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ | อุปมา | อุปลักษณ์ | บุคคลวัต/บุคคลสมมติ | อติพจน์ | อวพจน์ | นามนัย | สัญลักษณ์ | อุปมานิทัศน์ | |||
เพลงพิษณุโลกพาฝัน
เพลง พิษณุโลกรำลึก
เพลงพิษณุโลก
เพลงเก็บตะวัน
เพลงตะวันชิงพลบ
เพลงบัวแล้งน้ำ
เพลงคือหัตถาครองพิภพ
เพลงอิ่มอุ่น
เพลงผู้หญิงของแผ่นดิน
เพลงของขวัญจากก้อนดิน
เพลงไผ่รวมกอ
เพลงกุหลาบแดง
เพลงทะเลใจ
เพลงพรหมลิขิต
เพลงหยาดเพชร
เพลงถ้าฉันไม่อยู่แล้วใครจะดูแลเธอ
เพลงฉันรักเธอเท่าฟ้า
เพลงหนึ่งในร้อย
เพลงแสงหนึ่งคือรุ้งงาม
เพลงเธอเป็นแฟนฉันแล้ว
เพลงเธอที่รัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)