วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้ภาษาโน้มน้าวใจ

การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ  ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่มนวล ในน้ำเสียง
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
  1.  คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ  อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ  แถลงการณ์  เพลงปลุกใจ  บทความปลุกใจ  หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ  ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว  ทางวิทยุ โทรทัศน์   ผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย  โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม  เช่น  การพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ  พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร  พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต  พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อสินค้า ที่ตนเองจำหน่าย  พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น
2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้
                    2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร
                    2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
                    2.3  เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือบริการ
                    2.4  ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า
                    2.5  เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม
                    2.6  การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่าง ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
การพูดโน้มน้าวใจ
 ทัศนคติ  ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคล  ทั้งโดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ หลักการสำคัญของการพูดโน้มน้าวใจ ได้แก่ การทำให้มนุษย์ประจักษ์ว่า  ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่า หรือทำตามที่ ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำแล้ว  ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตนนั่นเอง แต่ตราบใดที่ความประจักษ์ชัดยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือว่าการโน้มน้าวใจยังไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นผู้โน้มน้าวใจควรได้ตระหนักถึงประเด็นของการนำเสนอเหตุผลเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ  เห็นความสำคัญและยอมรับการโน้มน้าวใจ
ตัวอย่างสารโน้มน้าวใจ
ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว                         แลริ้วริ้วสลับงามเป็นสามสี       
ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้                           แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ
ไทยรุ่นเยาว์ยืนเรียบระเบียบแถว                       ดวงตาแน่วนิ่งตรงธงไสว
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย            ฟังคราใดเลือดซ่านแล่นพร่านทรวง
     ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก                               เราแสนรักและแสนจะแหนหวง
 แผ่นดินไทยไทยต้องครองทั้งปวง                  ชีพไม่ล่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี
 เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ                   พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี
 เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี                         แม้ไพรีได้ฟังยังถอนใจ
  แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ                         คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้
 บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย                       บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง
 ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง                                แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง
 ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง                             จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                                                         นภาลัย  ฤกษ์ชนะ  ผู้ประพันธ์
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ
1. การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดาบุคคล ที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่น ย่อมได้รับความเชื่อถือ จากบุคคลทั่วไป
2. การแสดงให้เห็น ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่ตนกำลัง โน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
3. การแสดงให้เห็นถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วม  บุคคลที่มีอารมณ์ร่วมกันคล้อยตามกัน ได้ง่ายกว่าบุคคล ที่มีความรู้สึกอคติต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะประสบความสำเร็จ
4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย  ผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ โดยชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร
5. การสร้างความสุขให้แก่ผู้รับสาร การเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้
6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสนอแนะได้ง่าย
การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ  ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวล ในน้ำเสียง
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
1.  คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ  อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ  แถลงการณ์  เพลงปลุกใจ  บทความปลุกใจ  หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ  ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว  ทางวิทยุ โทรทัศน์   ผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย  โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม  เช่น  การพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ  พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร  พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต  พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อสินค้า ที่ตนเองจำหน่าย  พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น
2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้
                    2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร
                    2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
                    2.3  เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือบริการ
                    2.4  ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า
                    2.5  เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม
                    2.6  การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่าง ๆ ดังนี้
        1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
 2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น