วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของภาษา
1.ภาษาใช้สื่อความหมาย
-ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การแสดงออกทั่วไปเพื่อสื่อความหมาย เช่น ท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษาสัตว์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เครื่องหมาย สัญญาณต่างๆ(เสียงระฆัง เสียงหวอ สัญญาณไฟจราจร)
-ภาษาในความหมายอย่างแคบ หมายถึง ภาษาพูดของคนโดยใช้เสียงเป็นสื่อ
-เสียงที่ใช้แต่ละภาษามีจำนวนจำกัด
-แต่ละภาษาไม่จำเป็นต้องใช้คำๆเดียวกัน เมื่อพูดถึงสิ่งเดียวกัน เช่น เดิน-walk
-คำที่เสียงกับความหมาย"สัมพันธ์กัน" จะมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะมีแต่คำที่เสียงกับความหมาย"ไม่สัมพันธ์กัน" เช่น
1)คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น โครม หวูด ออด กริ่ง ตุ๊กตุ๊ก ตุ๊กแก ฉู่ฉี่ ก๊อบแก๊บ โหม่ง ทุ่ม โมง เพล้ง ปัง กริ๊ก คิกๆ(หัวเราะ)
2)คำที่เสียง"พยัญชนะ"สัมพันธ์กับความหมาย เช่น ค : ขุ่น เคือง แค้น เคียด ขึ้ง ขัด(โกรธ ไม่พอใจ)
3.คำที่เสียง"สระ"สัมพันธ์กับความหมาย เช่น
-เอ : เก เข เป๋ เฉ เซ เห (ไม่ตรง)
-เออ : เป๋อ เอ๋อ เหรอ เหวอ เซ่อ เด๋อ เหม่อ เผลอ (ไม่มีสติ งงๆ)
-อาบ : ราบ นาบ ทาบ ฉาบ (ทำให้แบนแผ่)

2.หน่วยในภาษาและการขยายหน่วยภาษา
-หน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบชองภาษา คือ เสียง คำ วลี ประโยค ข้อความ
-มนุษย์สามารถสร้างประโยคได้ไม่จำกัดจากเสียงในภาษาซึ่งมีจำกัด
-เรียงหน่วยเล็ก->ใหญ่
เสียง>>พยางค์>>คำ>>วลี>>ประโยค

3.ลักษณะที่"เหมือนกัน"ของภาษาต่างๆ
-ใช้เสียงสื่อความหมาย ทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ
-มีชนิดของคำคล้ายกัน เช่น คำนาม คำกริยา
-มีวิธีแสดงความคิดเห็นคล้ายกัน เช่น คำถาม บอก เล่า ปฏิเสธ คำสั่ง
-สามารถขยายประโยคได้เรื่อยๆ
-เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาผ
-มีการใช้คำในความหมายใหม่(พวกสำนวน)

4.ลักษณะที่"ต่างกัน"ของภาษาต่างๆ
-เสียง
-วรรณยุกต์
-ไวยากรณ์

5.การเปลี่ยนแปลงของภาษา สาเหตุคือ
5.1)สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
-คำบางคำออกเสียงต่างกับคำสมัยก่อน เช่น
old >>>>>> new
ลางครั้ง ลางที บางครั้ง บางที
เข้า ข้าว
ผ่ายหน้า ผ่ายหลัง ภายหน้า ภายหลัง
เม็ดตา เมตตา
-คำบางคำมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น
ขายตัว (ใช้กับทาส) พวกกะหรี่
จริต ความประพฤติ มารยาหรืออื่นๆในความหมายเชิงลบ
สำส่อน ปนกัน รู้ๆกันอยู่
ห่ม (ใช้กับ)เสื้อหรือผ้า (ใช้กับ)ผ้าที่เป็นผืนเท่านั้น เช่น
ที่เป็นผืนก็ได้ เช่น ห่มผ้า ห่มผ้า ห่มจีวร ห่มสไบ
ห่มเสื้อ ห่มเกราะ
5.2)การพูดกันในชีวิตประจำวัน
-การกร่อนเสียง(ตัดเสียง) เช่น
หมากพร้าว- มะพร้าว ฉันนั้น-ฉะนั้น
อันไร-อะไร อันหนึ่ง-อนึ่ง
รื่นรื่น-ระรื่น วับวับ-วะวับ
-การกลืนเสียง(รวมเสียง) เช่น
อย่างไร-อย่างไง (ง กลืน ร)
อย่างนี้-อย่างงี้ (ง กลืน น)
อย่างนั้น-อย่างงั้น (ง กลืน น)
ดิฉัน-เดี๊ยน
5.3)อิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ
-ยืมคำจากจ่างประเทศมาใช้ เช่น เทป คลีนิค พีระมิด เต้าหู้ กุหลาบ ยูโด
-สำนวนภาษาต่างประเทศ
5.4)การเรียนภาษาของเด็ก
-เด็กออกเสียงไม่ชัด คำจึงเพี้ยน เช่น ขนม-หนม อร่อย-หร่อย
ที่มา : http://board.dserver.org/e/eleven/00000676.html

2 ความคิดเห็น:

  1. กับเรื่องบางเรื่อง
    หันหลังให้มันบ้างก็ได้…จะได้ไม่เจ็บgclub

    ตอบลบ
  2. โสดน่ะเป็นกริยา แต่อ่อยอยู่น้า … เป็นการกระทำ ufabet

    ตอบลบ