ใบความรู้
เรื่องการอ่านวิเคราะห์ ข่าว
ความหมายของข่าว
ข่าว คือการรายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งอยู่ในความสนใจใคร่รู้ของคนทั่วไป ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่น ๆ มีหลายชนิดและหลายประเภททั้งนี้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการนำเสนอ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
ชนิดของข่าว
ชนิดของข่าวแบ่งออกได้ตามเนื้อหาของข่าวนั้น ๆ ได้แก่ ข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิงและข่าวกีฬา เป็นต้น
ประเภทของข่าว
๑. ข่าวหนัก (Hard news) คือ ข่าวที่มุ่งเน้นเหตุการณ์เป็นหลัก เป็นข่าวที่เสนอข้อเท็จจริงล้วน ๆ ตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวเพลิงไหม้ ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวฆาตกรรม เนื้อข่าวจะบอกว่าเกิดอะไร ที่ไหน เมื่อใด ใคร ทำไมและเกิดขึ้นได้อย่างไร
๒. ข่าวเบา (Soft news) คือ ข่าวที่มุ่งเน้นกระบวนการเกี่ยวเนื่องมากกว่าเน้นเหตุการณ์ เป็นข่าวที่มีการอธิบายและแปลความหมายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเพราะอะไรจึงเกิดเหตุการณ์นั้น รวมทั้งชี้ให้เห็นผลกระทบจากเหตุการณ์ที่มีต่อสังคมด้วย
โครงสร้างของข่าวโดยทั่วไป
โครงสร้างของข่าวโดยทั่วไปแบ่งออกได้ ๓ ส่วน ดังนี้
๑.พาดหัวข่าว (Headline) เป็นจุดดึงดูดความสนใจและบอกความสำคัญของข่าวได้ชัดเจนและรวดเร็วที่สุด มักจะใช้อักษรขนาดใหญ่แต่ถ้าไม่สามารถเก็บความสำคัญได้หมดจะมีการพาดหัวข่าวรอง (Sub headline) เพิ่มเติมไว้อีกส่วนหนึ่งโดยมีใจความที่ขยายให้ชัดเจนขึ้นและใช้ตัวอักษรที่ลดขนาดลงอาจใช้ วลี กลุ่มคำ หรือประโยคสั้น ๆ
๒.ความนำหรือวรรคนำ (Lead)เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพาดหัวข่าวและพาดหัวข่าวรอง โดยผู้เขียนข่าวจะจับประเด็นสำคัญของเหตุการณ์ ทั้งหมดมารายงานให้ผู้อ่านทราบแต่ถ้าความนำหรือวรรคไม่สามารถเก็บสาระสำคัญของข่าวได้หมดจะมีการเพิ่มส่วนที่โยงความสัมพันธ์ระหว่างความนำกับ เนื้อข่าวให้ชัดเจนไว้อีกตอนหนึ่งเรียกว่า “ส่วนเชื่อม” (Bridge) ซึ่งมีความยาวไม่มากนักและในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้
๓. เนื้อข่าว (Body) เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยรูปแบบในการนำเสนอหลายอย่างแต่ที่นิยมมากคือการรายงานข่าวโดยเรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญมากไปเหตุการณ์สำคัญน้อยเพื่อให้ผู้อ่านจับสาระสำคัญได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้งการพาดหัวข่าวและการเขียน ความนำมุ่งเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านมากเกินไปจนทำให้ประเด็นสำคัญของข่าวเบี่ยงเบนไป หากได้ตรวจสอบจากเนื้อข่าวทั้งหมดอีกครั้งจะทำให้จับใจความข่าวได้แม่นยำขึ้น
๒.ความนำหรือวรรคนำ (Lead)เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพาดหัวข่าวและพาดหัวข่าวรอง โดยผู้เขียนข่าวจะจับประเด็นสำคัญของเหตุการณ์ ทั้งหมดมารายงานให้ผู้อ่านทราบแต่ถ้าความนำหรือวรรคไม่สามารถเก็บสาระสำคัญของข่าวได้หมดจะมีการเพิ่มส่วนที่โยงความสัมพันธ์ระหว่างความนำกับ เนื้อข่าวให้ชัดเจนไว้อีกตอนหนึ่งเรียกว่า “ส่วนเชื่อม” (Bridge) ซึ่งมีความยาวไม่มากนักและในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้
๓. เนื้อข่าว (Body) เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยรูปแบบในการนำเสนอหลายอย่างแต่ที่นิยมมากคือการรายงานข่าวโดยเรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญมากไปเหตุการณ์สำคัญน้อยเพื่อให้ผู้อ่านจับสาระสำคัญได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้งการพาดหัวข่าวและการเขียน ความนำมุ่งเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านมากเกินไปจนทำให้ประเด็นสำคัญของข่าวเบี่ยงเบนไป หากได้ตรวจสอบจากเนื้อข่าวทั้งหมดอีกครั้งจะทำให้จับใจความข่าวได้แม่นยำขึ้น
หลักปฏิบัติในการอ่าน วิเคราะห์ข่าว
๑. การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ทราบข่าวและความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การเมือง สังคมการศึกษา วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
๒.การอ่านพาดหัวข่าว เป็นการอ่านกวาดสายตาแบบเร็ว ๆ เพื่อดูว่าแต่ละหน้ามีข่าวสำคัญที่น่าสนใจอะไรบ้าง ถ้าเราอ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำและติดตามเรื่องบางเรื่อง ผู้อ่านก็สามารถจะพลิกไปหน้านั้นได้ทันที การอ่านแบบกวาดสายตาเช่นนี้เป็นการเลือกข่าวที่จะอ่าน โดยดูจากพาดหัวข่าว
๓. การอ่านข่าวนำ การอ่านข่าวในหน้าแรกมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นย่อหน้าสรุปประเด็นสำคัญของข่าว ซึ่งจะมีรายละเอียดที่บอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหนเมื่อไร อย่างไร ทำไม ในการอ่านพยายามตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
๔. การวิเคราะห์ประโยค ในบางครั้งเราอ่านข่าวไม่เข้าใจ มีปัญหาสืบเนื่องมาจาก โครงสร้างของประโยคซับซ้อน วิธีการที่จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คือวิเคราะห์ว่าส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาแท้ ส่วนใดเป็นส่วนขยาย ถ้าวิเคราะห์โครงสร้างหลักได้ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
๕. การหาความหมายของศัพท์ ปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ คือ บางครั้งอาพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความท้อถอย คิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ ผู้อ่านควรเปิดพจนานุกรมและจดคำศัพท์ไว้เพื่อทบทวนความจำอย่างไรก็ตามในการอ่านข่าวผู้อ่านควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าวจากแหล่งข่าวหรือสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด
๕. การหาความหมายของศัพท์ ปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ คือ บางครั้งอาพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความท้อถอย คิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ ผู้อ่านควรเปิดพจนานุกรมและจดคำศัพท์ไว้เพื่อทบทวนความจำอย่างไรก็ตามในการอ่านข่าวผู้อ่านควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าวจากแหล่งข่าวหรือสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด
เมื่ออ่านข่าวเสร็จแล้วปฏิบัติ ดังนี้ตอนที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนที่ความคิด สรุปความรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์ข่าว
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนเขียนแผนที่ความคิด จากการอ่านวิเคราะห์ข่าวเรื่อง “ลูกคลั่งเกม แม่ฆ่าตัวประชด” ตามหลักปฏิบัติในการอ่านวิเคราะห์ข่าว
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนเขียนแผนที่ความคิด จากการอ่านวิเคราะห์ข่าวเรื่อง “ลูกคลั่งเกม แม่ฆ่าตัวประชด” ตามหลักปฏิบัติในการอ่านวิเคราะห์ข่าว
ข่าว
เรื่อง “ลูกคลั่งเกม แม่ฆ่าตัวประชด”
ลูกคลั่งเล่นเกม แม่ฆ่าตัวประชด เตือนเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง โดด ๑๒ ชั้น ดับสยองต่อหน้า
แม่ก่อเหตุสลดกระโดดตึก ๑๒ ชั้น จบชีวิตตัวเอง เหตุน้อยใจที่ลูกชายบึ้งตึงไม่พูดด้วย หลังว่ากล่าวตักเตือนเรื่องที่เอาแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ลูกชายวัย ๑๘ ยอมรับงอนแม่จึงไม่พูดด้วย ก่อนก่อเหตุเรื่องเศร้า แม่บอกว่าจะกระโดดตึกฆ่าตัวตาย แต่นึกว่าแม่พูดขู่จึงนั่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์ต่อไป ไม่ได้สนใจอะไร จนกระทั่งแม่เดินออกที่ระเบียงแล้วกระโดดลงมาฆ่าตัวตายตามที่พูด
คดีน่าเศร้าสลดใจที่แม่น้อยใจกระโดดตึกจบชีวิตตัวเองเพื่อประชดลูกชายรายนี้เปิดเผยขึ้นเมื่อเที่ยงวันที่ ๑๐ พค. ๔๗ พ.ต.ท.สันติ มีศิริ สารวัตรเวรสน.ลุมพินี ได้รับแจ้งว่ามีคนตกตึกที่แฟลต ก ๒ แฟลตบ่อนไก่ ซอยปลูกจิต ถนนพระราม ๔ แขวงลุมพินีเขตปทุมวัน กทม. จึงเดินทางไปตรวจสอบพร้อมแพทย์จากแผนกนิติเวช ฯ ร.พ.จุฬา ฯ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู เมื่อไปถึงจึงพบว่าที่เกิดเหตุ เป็นแฟลต ๑๒ ชั้น บริเวณสวนหย่อมหน้าอาคารพบศพผู้หญิงนอนหงายในสภาพร่างกายแหลกเหลว ทราบชื่อภายหลังว่า ชื่อนางณัฐชนก ตรีธารทิพย์ อายุ ๔๗ ปี พักอยู่ห้อง ๘/๒๐๗ ชั้น ๑๒ ของแฟลต
นายอนุพงษ์ ตรีธารทิพย์ อายุ ๕๗ ปี สามีของนางณัฐชนก ให้การว่าทำงานเป็นเซลล์แมนขายเหล็ก ส่วนนางณัฐชนก ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้านจิวเวลลี่ย่านสุรวงศ์ แต่ลาออกมาเป็นแม่บ้านได้ ๗ ปี แล้ว ขณะทำงานอยู่ลูกชายวัย ๑๘ ปี ซึ่งเป็นลูกชาย คนเดียวเรียนอยู่ชั้น ม.๖ โทรศัพท์มาร่ำไห้บอกข่าวร้ายว่านางณัฐชนกผู้เป็นแม่กระโดดตึกเสียชีวิตแล้ว จึงรีบกลับมาที่บ้าน ส่วนสาเหตุการฆ่าตัวตายของนางณัฐชนก นายอนุพงษ์กล่าวว่านางณัฐชนกอยู่บ้านเฉย ๆ ไม่มีปัญหาอะไร ที่ตัดสินใจคิดสั้นกระโดดตึกฆ่าตัวตายคงเป็นเพราะประชดลูกชาย เนื่องจากก่อนหน้านี้ลูกชายมีอาการบึ้งตึงที่ถูกแม่ดุว่า เรื่องชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ จึงไม่ยอมพูดคุยกับแม่มา ๖-๗ วันแล้ว
1. เพราะเหตุใดแม่จึงกระโดดตึกฆ่าตัวตาย
2. นักเรียนคิดว่าการกระทำของแม่เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
3. ถ้านักเรียนเป็นลูกจะปฏิบัติตัวอย่างไร
4. ถ้านักเรียนเป็นแม่ จะปฏิบัติอย่างไร
4. ถ้านักเรียนเป็นแม่ จะปฏิบัติอย่างไร
5. จากการอ่านข่าว “ลูกคลั่งเกม แม่ฆ่าตัวประชด” นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง
ตอนที่ 4
คำชี้แจง จากการอ่านข่าวเรื่อง “ลูกคลั่งเกม แม่ฆ่าตัวประชด” ให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็น
เพราะแม่ประชดลูกชายเรื่องที่
ตอบลบารกระทําของแม่ไม่เหมาะสมเพราะการฆ่าตัวตายไม่ใชาหนทางของการแก้ไขปัญหา