*~ไตรภูมิพระร่วง~*
ผู้แต่ง – พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของสุโขทัย
ชื่อเดิม – เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา
ความหมาย – เรื่องราวของสามโลก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
จุดมุ่งหมาย – ชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสาม ที่มีแต่การแปรเปลี่ยน ไม่แน่นอน มีแต่อนิจจลักษณะ
– ชี้ให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นไปจากโลกทั้งสามเพื่อไปอยู่ในโลกุตรภูมิ หรือนิพพาน
– เน้นเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเริ่มเนื้อหาจากนรกภูมิ
ผลจากการฟัง – ทำให้บรรลุนิพพาน
– ได้เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์อันเป็นโลกทิพย์
– มีโอกาสเกิดมาพบพระศรีอาริย์ผู้จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
คุณค่า
ด้านวรรณคดี – เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักแต่งวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ด้านศาสนา – เป็นการนำเสนอปรัชญาทางพุทธศาสนา
ด้านจริยธรรม – กำหนดกรอบการปฏิบัติตนให้คนในสังคมทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ทำให้สังคมสงบสุข
ด้านประเพณีและวัฒนธรรม – แสดงให้เห็นความเชื่อที่ตกทอดมาสู่ประเพณีและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เช่น
- การจัดดอกไม้ธูปเทียนให้คนตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายนำดอกไม้นั้นไปสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์
- การเผาศพในเมรุเปรียบเสมือนการเดินทางขึ้นเขาพระสุเมรุไปสู่สวรรค์
ด้านศิลปะ – ก่อให้เกิดงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมตามแผนภูมิจักรวาลในเรื่องไตรภูมิพระร่วง
แนวคิด – การเกิดในท้องมารดาเป็นทุกข์แบบหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเลย
– กวีมีความรู้เรื่องการกำเนิดมนุษย์ตามแบบวิทยาศาสตร์
การใช้ภาษา – มีการใช้คำเป็นจังหวะน่าฟัง
– มีการใช้คำสัมผัสคล้องจอง
– มีการใช้โวหารภาพพจน์ โดยเฉพาะอุปมาโวหาร
*~ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ~*
การเกิดมนุษย์
ปฏิสนธิ -> กัลละ (ขนาด เศษ 1 ส่วน256 ของเส้นผม)
7 วัน -> อัมพุทะ (น้ำล้างเนื้อ)
14 วัน -> เปสิ (ชิ้นเนื้อ)
21 วัน -> ฆนะ (ก้อนเนื้อ, แท่งเนื้อ ขนาดเท่าไข่ไก่)
28 วัน -> เบญจสาขาหูด (มีหัว แขน2 ขา2) ครบ 1 เดือน
35 วัน -> มีฝ่ามือ นิ้วมือ ลายนิ้วมือ
42 วัน -> มีขน เล็บมือ เล็บเท้า (เป็นมนุษย์ครบสมบูรณ์)
50 วัน -> ท่อนล่างสมบูรณ์
84 วัน -> ท่อนบนสมบูรณ์
184 วัน -> เป็นเด็กสมบูรณ์ นั่งกลางท้องแม่ (6เดือน)
การคลอด
ท้อง 6 เดือนคลอด - >ไม่รอด (บ่ห่อนได้สักคาบ)
ท้อง 7 เดือนคลอด ->ไม่แข็งแรง (บ่มิได้กล้าแข็ง)
การเกิด
มาจากสวรรค์ -> ตัวเย็น ออกมาแล้วหัวเราะ (น่ากลัวแหะ-*-)
มาจากนรก -> ตัวร้อน ออกมาแล้วร้องไห้
*** ลมกรรมชวาต = ลมเกิดแต่กรรม ดันให้เด็กคลอดออกมา
กาลทั้ง 3 ได้แก่
กาล 1 -> แรกเกิดในท้องแม่
กาล 2 -> อยู่ในท้องแม่
กาล 3 -> ออกจากในท้องแม่
* คนธรรมดา -> ไม่รู้ตัว จำไม่ได้ทั้ง 3 กาล
* พระปัจเจกโพธิเจ้า/ พระอรหันตาขีณาสพเจ้า / พระอัครสาวกเจ้า -> 2 กาลแรกรู้ตัว จำได้ แต่ลืมกาลที่ 3
*** ควรอิ่มสงสารแล = เกิดเป็นคนควรใช้ชีวิตให้คุ้มค่า (ประโยคสุดท้ายบท)
อุปมาโวหาร แสดงให้เห็นความทุกข์ของการเกิด
- เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนทุกเมื่อแล ดุจดั่งลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล
- ในท้องแม่ร้อนนักหนา ดุจดังเราเอาใบตองเข้าจ่อตน แลต้มในหม้อนั้นไซร้
- กุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตน ดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบหนักหนา
- กุมารอยู่ในท้องแม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแล ดุจดั่งลูกทรายอันเพิ่งออกแล อยู่ธรห้อยผิบ่มิดุจดั่งคนอันเมาเหล้า(เหมือนลูกทรายโดนคนเมาเอาไปโยนเล่น) ผิบ่มิดุจดั่งลูกงูอันหมองูเอาไปเล่นนั้นแล
- เมื่อถึงจักคลอด ดุจดั่งฝูงนรกอันยมบาลกุมตีนแลหย่อนหัวลงในขุมนรก อันลึกได้แลร้อยวา
- เมื่อกุมารคลอดออกจากท้องแม่ ออกแลไปบ่มิพ้นตน ตนเย็น(แม่)นั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา ดั่งช้างสารท่านชักท่านเข็นออกจากประตูลักษ(รูกุญแจ)อันน้อยนั้น
- แลคับตัวออกยากลำบากนั้นแล ผิบ่มิดั่งนั้น ดั่งคนผู้อยู่ในนรกแล แล ภูเขาอันชื่อคังไคยบรรพตหีบ(บีบ)แลเหง(ทับ) และบดบี้นั้นแล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น